วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชนเผ่าลาว


    พี่น้องเอ้ย ไผ๋เมืองศรีสะเกษแล้ง หันมาแย้งเบิ่งกะน้า วัฒนธรรมล้ำค่า ของดี 4 เผ่าได้ ของกินของใช้ มีไว้ให้เบิ่งทุกฤดู ผลไม้กะหลายอยู่ ทางเมืองกันทรลักษณ์ศรี ผักหอมกระเทียมมีหลายล้น อยู่ทางฝั่นโพ้น  กันทรารมย์ ยางชุมน้อย ราษีไศลกะมีบ่หน่อยลื่นกัน อีกทั้งปิ้งไก่นั้น ไม้มะดันอันเลื่องชื่อ พระธาตุเรื่องรองจื่อ ของมงคลคู่บ้าน ขอเชิญท่านได้แวะชม
หลายๆคน จะฮู้จักว่าเมืองศรีสะเกษ มี อยู่ 4 เผ่า คือ ส่วย ลาว เขมร เยอ จะแบ่งแยกกันอยู่ตาม ถิ่นฐาน ที่เคยได้อพยพมา ละมื้อนี้ นู๋น้อย ขอนำเสนอที่มาที่ไปของชนเผ่าลาวในศรีสะเกษ

การตั้งถิ่นฐานชาวลาว จ.ศรีสะเกษ                                                                                                                                                                                      ชาวลาวใน จ.ศรีสะเกษนั้นมีความสัมพันธ์กับชาวลาว ในประเทศลาวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศลาวมีหลายเผ่าพันธุ์ ซึ่งรวมเข้าเป็นสามเหง้าด้วยกันคือ เหง้าอินโดนีเซีย เหง้าจีนและเหง้าไทลาว เหง้าอินโดนีเซียเป็นชนเผ่าที่ถูกเรียกว่าสลาวเทิงหรือชาวข่า เหง้าจีนเป็นชนเผ่าที่ระยะหลังเรียกว่าลาวสูง ได้แก่พวกเผ่าแม้ว เย้า เหง้าไทลาวหมายถึงลาวทีลุ่มได้แก่ชนเผ่าไท ผู้ไทและลาว ดังนั้นการกล่าวถึงชาวลาวใน จ.ศรีสะเกษ    จึงขอกล่าวเฉพาะเผ่าไทลาวเท่านั้น        ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 7 มีชนเผ่าไทจำนวนหนึ่งล่องเรือลงมาจากตอนใต้ของประเทศจีน มาตามลำแม่น้ำแดง เเม่น้ำอู แม่น้ำโขงลงมาประเทศลาว นำโดยขุนลอ เข้ารบกับขุนกันฮางและหลานเหลน พ่ายหนีตกเมืองน้ำทาพันแล เมื่อนั้นขุนลอจึงได้ตั้งเมืองเป็นท้าวเป็นพญาแก่ลาวทั้งหลาย ก่อนท้าวพญาลาวทั้งหลายทั้งมวล จากขุนลอราชวงศ์ลาวได้สืบทอดกันลงอีก 20 รัชกาลจนถึงสมัยเจ้าฟ้างุ้ม                                                                                                                                                                                    ใน พ.ศ. 2237 ทางราชสำนักนครเวียงจันทน์ เกิดแย่งชิงอำนาจกัน พวกราชวงศ์ลาวต้องลี้ภัยการเมืองไปยังสถานที่ต่างๆ ส่วนหนึ่งมีผู้นำที่เป็นศรัทธาของประชาชน คือพระครูยอดแก้ว วัดโพนสะเม็ก มีศิษย์ตามมามากประมาณ 3,000 คน ได้ลงมาอาศัยกับพญาข่าผสมลาวแห่งนครจำบากนาคบุรีศรี ได้มีความสัมพันธ์กับข่าที่มีนางเพานางแพงเป็นผู้ครองนคร ท้ายที่สุดนครจำบากก็ตกอยู่ในอำนาจของราชวงศ์ลาว ที่สถาปนาอาณาจักรลาวใต้ขึ้นมา เปลี่ยนชื่อเป็นนครจำปาศักดิ์ นัคบุรี มีกษัตริย์เชื้อสายลาวที่อพยพลงมานั้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2256 พระนามว่าพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (พ.ศ. 2256-2281) แล้วจัดการปกครองหัวเมืองข่าทั้งปวงทั้งในเขตลาวใต้ อันได้แก่สาละวัน จำปาศักดิ์ อัตปือ ตลอดจนส่งเสนาข้าราชบริพารไปตั้งเมืองถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ถึงเมืองนครเขต ซึ่งเป็นเมืองลาวที่ตั้งใหม่ในเขต จ.ศรีสะเกษ
ชาวลาวที่เข้ามาในรุ่นนี้ จากหลักฐานน่าจะเข้ามาตั้งบ้านเรือนตามหมู่บ้านใหญ่ๆ ในลุ่มแม่น้ำมูล เช่น ที่ตั้งของเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน บานหนองครก บ้านคูซอด บ้านหนองโน อ.เมืองศรีสะเกษ  ดังประวัตหมู่บ้านที่ได้ระบุไว้                      
บ้านหนองครก หมู่ที่1 และหมู่ที่ 5 อ.เมืองศรีสะเกษ ที่ชื่อบ้านหนองครกเพราะมีตำนานว่า ในวันพระเวลาข้างขึ้นข้างแรมเวลากลางคืน จะได้ยินเสียงกลองที่หนองน้ำ และมีครกสีทองผุดขึ้นมาลอยเหนือน้ำ จึงได้ชื่อว่าบ้านหนองครก บรรพบุรุษเดิมของชาวหนองครกเป็นพวกลาวกาวที่มาจากนครจำปาศักดิ์ มาตั้งถิ่นฐานก่อนตั้งเมืองขุขันธ์                                       
บ้านคูซอด หมู่ที่1 หมู่ที่ 2 ต.คูซอด อ.เมืองศรีสะเกษ ชาวบ้านคูซอดอพยพมาจากเวียงจันทร์ มาตั้งบ้านที่บ้านโนนหนองหว้า ตอนหลังเปลี่ยนเป็นบ้านคูซอด เมื่อเกิดศึกพระตาได้กวาดต้อนคนกลับไปลาว จน พ.ศ. 2321 จึงได้อพยพกลับมาอยู่ที่เดิม

บริเวณที่ตั้งเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน โดยเฉพาะบริเวณวัดมหาพุทธาราม ในช่วงที่มาตั้งเมือง พ.ศ. 2328 ได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่กลางป่า ซึ่งปัจจุบันได้บูรณะให้เป็นพระประธานของวัดมหาพุทธาราม                                     เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 24 พวกเจ้าลาวกลุ่มพระวอพระตาได้อพยพจากนครเวียงจันทน์ เข้ามายังบริเวณลุ่มน้ำมูล- ชี เอกสารพื้นเมืองยโสธรกล่าวว่า พบแต่พวกผีที่เป็นเจ้าของป่าและลำน้ำ จนมีการรบราฆ่าฟันก่อนที่จะตั้งหลักแหล่งได้ ใน จ.ศรีสะเกษได้พบหลักฐานที่สำคัญว่าชาวลาวกลุ่มพระวอพระตา จะกระจายอยู่ในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ                     หลายหมู่บ้านดังนี้
บ้านกุดโง้ง หมู่ 6 ต.โพนข่า อ.เมืองศรีสะเกษ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2310 โดยผู้นำคือเจ้าชัยสารโพธิสาร เมืองเวียงจันทร์อพยพมากับพระวอพระตา โดยมีลาวสั้นจากนครจำปาศักดิ์รวมกลุ่มมาเป็นส่วนใหญ่ นำขบวนมาพิชิตชาวข่า ส่วย เยอ จนสามารถสร้างบ้านได้เมื่อวันเพ็ญเดือน 5 พ.ศ. 2320 ก่อนตั้งเมืองศรีสะเกษประมาณ 5 ปี
บ้านโพนข่า หมู่ที่ 1 ต. โพนข่า .เมือง ศรีสะเกษ อพยพมาจากดินแดนประเทศลาว เป็นพลพรรคไพร่พลของเมืองเเสนหน้าง้ำและพระวอ พระตา โดยมีหลวงปู่สริยา พระเถระอาวุโสหนีภัยมาด้วย
บ้านเมืองน้อย หมู่ที่ 1,6,7 ต.เมืองน้อย อ.กันทรารมย์ ความหมายของชื่อหมู่บ้านเป็นที่พักของผู้ครองนคร บ้านเมืองน้อยสืบเชื้อสายมาจากเมืองหนองบัวลำภ ูหรือนครเขื่อนขัณธ์กาบแก้วบัวบาน ถิ่นฐานเดิมอยู่ในจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบันนี้

อ.บึงบูรพ์ โดยเฉพาะ ต.บึงบูรพ์ หมู่ ที่ 1,2,3,8 ซึ่งได้แก่ บ้านเป๊าะ บ้านโนนสาวสวย บ้านจอมพระ บ้านนาสวน และบ้านนาหล่ม และเครือญาติของชาวบ้านเป๊าะในต.เป๊าะ ซึ่งได้แก่ บ้านหาด บ้านหมากยาง จะเป็นหมู่บ้านชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์ ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏชัดหรือหลบภัยการเมือง สำเนียงภาษาที่ชาวบ้านเป๊าะพูดเหมือนพี่น้องลาวชาวอุบล (จากการศึกษาของวิรอด ไชยพรรณา พบว่าเผ่าที่นับถือญาพ่อคือเผ่าลาว จะปรากฏที่ อ.บึงบูรพ์เกือบทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านที่นับถือญาพ่อจะอยู่ใกล้บริเวณป่าดงภูดิน  อ.ราษีไศล

อ.ยางชุมน้อย มีชาวลาวที่อพยพมาคราวสงครามพระวอ พระตา ส่วนหนึ่งมาอยู่ที่บ้านดวนใหญ่ แต่เมื่อสงครามสงบเกิดคิดถึงบ้านเดิมจึงอพยพกลับ ส่วนหนึ่งเดินทางมาถึงบ้านเจียงอี จึงตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่น อีกส่วนหนึ่งเดินทางต่อไปพบสถานที่เหมาะสม จึงตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านยางชุมน้อย โดยไม่ได้กลับไปเวียงจันทร์แต่อย่างใด

กลุ่มชาวลาวที่เข้ามาสมัยกรุงธนบุรี                                                                                                                             การยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ จำปาศักดิ์จนได้รับชัยชนะ ได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทร์มาเป็นจำนวนมาก มาอยู่ที่ ต.สิ ,ต.ขุนหาญ, อ.ขุนหาญ ต.หมากเขียบ อ.เมืองศรีสะเกษ ,บ้านตาอุด บ้านโสน อ.ขุขันธ์ , หลวงปราบ(เป็นทหารเอกในศึกครั้งนี้ ซึ่งไปได้ภรรยาม่ายเป็นชาวลาว)ได้นำครอบครัวนางคำเวียงพร้อมบริวารไปอยู่ที่บ้านบก อ.ขุขันธ์ ก่อนที่จะย้ายเมืองมาตั้งที่หนองแตระในเวลาต่อมา                                                                                                                  หลังจากที่ชาวลาวได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานใน จ.ศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง ชาวลาวที่เรียนหนังสือและเป็นพระ ได้เผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและภาษา เข้าไปยังชุมชนชาวพื้นเมือง ชาวกวย เขมร เยอ มากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับในระยะหลัง ชาวลาวได้อพยพเข้าไปแทรกอยู่ในเกือบทุก อ. โดยเฉพาะ  อ.เมือง ยางชุมน้อย กันทรารมย์    โนนคูณ กันทรลักษ์ จะมีจะประชากรชาวลาวเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันภาษาลาวจึงเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันส่วนใหญ่ในจ.ศรีสะเกษ
ที่มา
www.baanmaha.com

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น