เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ใน
พ.ศ. 1839
เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระองค์ และได้ดำรงอยู่ต่อมา 600 ปีเศษจนถึง พ.ศ. 2442 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศยกเลิกหัวเมืองประเทศราชให้อาณาจักรล้านนา ซึ่งอยู่ในฐานะเมืองประเทศราชเปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลพายัพ ผู้ก่อตั้งอาณาจักรล้านนาได้แก่ พญามังราย
(พ.ศ. 1782 – 1854)
ซึ่งตามตำนานพื้นเมือง เชียงใหม่กล่าวว่า
เป็นโอรสของลาวเมง กษัตริย์องค์ที่ 24
แห่งแคว้นหิรัญนคร
หรือเงินยางเชียงแสน พระมารดาคือ
นางอั้วมิ่งจามเมือง หรือ นางเทพคำข่าย
ซึ่งเป็นธิดาของท้าวรุ่งแก้นชาย กษัตริย์ไทลื้อแห่งเมืองเชียงรุ้งเขตสิบสองปันนา พญามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคตก็ได้เสวยราชย์แทนใน
พ.ศ. 1804
เป็นกษัตริย์ราชวงศ์ลวจังกราชองค์ที่ 25 ซึ่งเป็นองค์สุดท้าย หลังจากขึ้นครองราชย์แล้ว
พญามังรายมีประสงค์จะสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่จึงทรงรวบรวมเมืองต่างๆ เข้าไว้ในอำนาจ
และทรงสร้างเมืองใหม่และย้ายราชธานีมายังเมืองที่สร้างใหม่ตามลำดับดังนี้ พ.ศ.1805
สร้างเมืองเชียงราย พ.ศ.1816
สร้างเมืองฝาง (อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน) พ.ศ.
1829 สร้างเวียงกุมกาม (อยู่ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อรวบรวมเมืองทางตอนบนในลุ่มแม่น้ำกกได้เรียบร้อยแล้ว
พญามังรายก็ขยายอำนาจลงมาทางใต้ ลงสู่ลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน ทรงใช้อุบายส่งคนไปเป็นไส้ศึกในแคว้นหริภุญชัยนานถึง 7
ปี คนของพญามังรายยุยงชาวหริภุญชัยให้กระด้างกระเดื่องต่อพญาญีบา
กษัตริย์แห่งหริภุญชัยได้สำเร็จ
พญามังรายจึงยึดเมืองหริภุญชัยได้โดยง่ายเมื่อ พ.ศ. 1835 ต่อมาพญามังรายทรงเห็นว่า
พื้นที่ระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง
และดอยสุเทพมีชัยภูมิเหมาะสมจึงสร้างราชธานีใหม่ขึ้น ขนานนามว่า
“นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอาณาจักรล้านนา และพญามังรายทรงเป็นกษัตริย์ของราชวงศ์มังรายแห่งล้านนา
พญามังรายแห่งล้านนา พญางำเมืองแห่งพะเยา และพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย
เป็นศิษย์ร่วมสำนักนักเรียนเดียวกันที่เมืองละโว้ และเป็นสหายร่วมสาบานกัน เมื่อจะสร้างเมืองเชียงใหม่พญามังรายได้เชิญสหายทั้งสองพระองค์มาปรึกษาหารือด้วย
การที่กษัตริย์ชาวไทย 3
พระองค์มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันเช่นนี้
ทำให้รัฐของคนไทยมีความมั่นคงและสามารถขยายอาณาเขตออกไปได้ เพราะไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง
และเพื่อป้องกันการรุกรานของชาวจีนสมัยราชวงศ์มองโก (เจ็งกีสข่าน)
ที่ขยายอำนาจลงมาในภูมิภาคนี้ พญามังรายทรงควบคุมเมืองต่างๆ
ให้อยู่ในอำนาจได้อย่างสมบูรณ์
อาณาเขตล้านนาในสมัยพญามังราย ทิศเหนือคือเชียงรุ่ง เชียงตุง
ทิศตะวันออกจดแม่น้ำโขง
ทิศใต้ถึงลำปาง ทิศตะวันตกถึงแม่น้ำสาละวิน ทางด้านการก่อสร้างเพื่อสาธารณะประโยชน์
พญามังรายทรงสร้างตลาดแลสะพานข้ามแม่น้ำปิงที่เวียงกุมกาม สร้างเหมืองฝายหลายแห่งเพื่อทดน้ำไปใช้ในการเกษตร สร้างทำนบกั้นน้ำขนาดใหญ่ยาวถึง 30
กิโลเมตรเพื่อป้องกันน้ำท่วมเวียงกุมกาม
ซึ่งถือเป็นทำ “ชลประทาน” ครั้งแรกของชนชาติไทย
ทางด้านการปกครอง เชียงใหม่มีฐานเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร พญามังรายทรงบริหารราชการบ้านเมืองที่เชียงใหม่ ส่วนเมืองลำพูนทรงแต่งตั้งอ้ายฟ้าปกครอง โดยอยู่ในฐานะเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ ซึ่งเชียงใหม่ ปกครองอย่างใกล้ชิดเสมือนเมืองแฝด
ระยะนี้ลำพูนเป็นศูนย์กลางทางศาสนา
ขณะที่เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครอง
ส่วนเมืองเชียงรายมีความสำคัญอับรองจากเมืองเชียงใหม่ พญามังรายจึงส่งขุนคราม โอรสไปปกครอง สมัยพญามังรายพบว่าดินแดนล้านนา แบ่งเป็น 2
ส่วน คือ ล้านนาตอนบน (แคว้นโยนก)
มีเชียงรายเป็นศูนย์กลาง
ส่วนล้านนาตอนล่าง มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ลักษณะเช่นนี้สืบมาอีกหลายสมัย
นอกจากนั้นเมืองอื่นๆ จะส่งโอรสหรือญาติตลอดจนขุนนางที่ไว้วางใจไปปกครอง
ตามลำดับความสำคัญของเมือง พญามังรายได้
ตรากฎหมายขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองครองเรียกว่า “กฎหมายมังรายศาสตร์” นับเป็นกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของไทย และยังได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เอง คือ “อักษรไทยยวน” หรือ “ไทยโยนก”
นับว่าการเริ่มต้นของตัวอักษรของชนชาติไทยเป็นครั้งแรก ปัจจุบันตัวอักษรไทยยวน ได้กลายสภาพเป็น “อักษรคำเมือง” ของชาวพื้นบ้านในภาคเหนือของประเทศไทย
และยังได้มีการนำเอาพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่อย่างกว้างขวางในอาณาจักรล้านนา
นับเป็นการเริ่มต้นของพุทธศาสนาของชนชาติไทย
ทีมา
www.wikipedia.com
ทีมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น