วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาสังคม


                                                                    
             การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา  และมีผลกระทบต่อเนื่องกัน  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ย่อมส่งผลไปถึงสิ่งอื่น ๆ ด้วย  การเปลี่ยนแปลงบางเรื่องเป็นไปอย่างช้า ๆ  บางเรื่องเป็นไปอย่างรวดเร็ว 

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ส่งผลต่อสังคม  ทำให้เกิดปัญหาสังคมในวงกว้างที่ทำให้ต้องแก้ไขอย่างเป็นกระบวนการ

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงสังคม  (Social Change)

พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  (2524 : 337) ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไว้ว่า

การที่ระบบสังคม  กระบวนการ  แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม  เช่น  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ระบบครอบครัว  ระบบการปกครองได้เปลี่ยนแปลงไป  ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้  อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้า  หรือถดถอย  เป็นไปอย่างถาวรหรือชั่วคราว  โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง  และที่เป็นประโยชน์  หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น

กระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม

นักสังคมวิทยา  William  Ogburn  (อ้างถึงใน  Henslin 1996: 387-388)ได้กล่าวถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 3 กระบวนการ ที่เทคโนโลยีสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลโดยผ่านการประดิษฐ์คิดค้น  การค้นพบ  และการแพร่กระจาย

1.  การประดิษฐ์คิดค้น  (Invention)  Ogburn  ได้นิยามการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ว่าเป็นการรวมกันขององค์ประกอบที่มีอยู่แล้วและอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อสร้างสิ่งใหม่ขึ้น  ในขณะที่เรามักจะคิดถึงการประดิษฐ์คิดค้นในแง่ของวัตถุ  เช่นคอมพิวเตอร์  แต่ที่จริงแล้วยังมีการประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม  (Social  inventions)  เช่นทุนนิยม  และระบบราชการ  สิ่งประดิษฐ์ทางสังคมสามารถมีผลสืบเนื่องแผ่ขยายกว้างไกลออกไปในสังคม

2.  การค้นพบ  (Discovery)  เป็นวิธีการใหม่ของการมองความจริง  โดยทั่วไปความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว  แต่คนเพิ่งจะพบมันเป็นครั้งแรก  ยกตัวอย่างเช่น  โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาเหนือ  ซึ่งผลที่ต่อเนื่องมามีมหาศาลถึงกับเปลี่ยนประวัติศาสตร์  อย่างไรก็ตาม  ตัวอย่างนี้ก็เป็นการอธิบายถึงหลักการประการหนึ่งคือ  การค้นพบที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางได้นั้นต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม  เพราะที่จริงแล้วชาวไวกิ้ง  (Viking)  ได้ค้นพบอเมริกาก่อนหน้าโคลัมบัสแต่ไม่ได้ส่งผลต่อเนื่องเท่ากับการค้นพบของโคลัมบัส

3.  การถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรมหนึ่งไปยังอีกวัฒนธรรมหนึ่ง  (Diffusion)  เป็นการแผ่ขยายการประดิษฐ์คิดค้นหนึ่ง  หรือการค้นพบจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง  และมีผลแผ่กว้างขยายไปยังความสัมพันธ์ของมนุษย์

4.ระดับวัฒนธรรม  (The Culture  Level)  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเจตคติและค่านิยมในสังคม  การเปลี่ยนแปลงระดับนี้มักจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ช้าที่สุด  ล้าหลังนวัตกรรมและเทคโนโลยี  เช่น  ค่านิบมในการแข่งขันกันเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐที่มีชื่อเสียง

 กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้เกิดปัญหาสังคม  ที่ประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่  หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็แสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างรีบด่วนเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคม ที่เรียกว่าเป็นปัญหาสังคมซึ่งมีสาเหตุของปัญหาคือ

1. สภาพพยาธิวิทยาทางสังคม  คือเป็นสภาพที่สังคมเหมือนร่างกายของมนุษย์มีการเจ็บป่วยเนื่องจากผู้คนในสังคมละเมิดศีลธรรม ขาดคุณธรรมจริยธรรม ไม่ยึดถือความดีเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

2.  การเสียระเบียบทางสังคม หมายถึงเมื่อสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงจากวัฒนธรรมเก่ามาสู่วัฒนธรรมใหม่ผู้คนเกิดการไม่เข้าใจถ่องแท้เกิดความวุ่นวายสับสนอลหม่าน

3.  การขัดกันในค่านิยมหมายถึงสภาพสังคมที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคมเช่นการแย่งชิงด้านวัตถุ  เงินทอง  ชื่อเสียง   อำนาจตำแหน่ง

4. ภาวะพฤติกรรมเบี่ยงเบน หมายถึงสภาพคนที่ละเมิดไม่ยึดถือบรรทัดฐานของสังคมมีพฤติกรรมที่แปลกแยกออกไปเป็นพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ

5.  การขนานนาม  หมายถึงปัญหาสังคมที่เกิดจากการที่คนสำคัญหรือคนที่มีอิทธิพลเรียกชื่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งให้เป็นปัญหาแล้วให้คนในสังคมเชื่อตาม
ปัญหาสังคมมีสาเหตุมาจากสภาพต่างๆที่กล่าวมาซึ่งภาวะต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันหลักทางสังคมดังนี้
1.  ปัญหาด้านเศรษฐกิจ  สถาบันเศรษฐกิจคือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการผลิต  การแจกจำหน่ายและบริโภคภายในประเทศ
  รูปแบบของสถาบันเศรษฐกิจ  มีดังนี้
-  ทุนนิยม  เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน  มีอิสระดำเนินการอย่างเสรี
-  สังคมนิยม  รัฐบาลเข้าควบคุมดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่
-  แบบผสม  รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการผลิตบางประเภท
-  แบบคอมมิวนิสต์  รัฐกำหนดให้บุคคลให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจต่อกันและควบคุมมิให้มีการผูกขาดทางเศรษฐกิจ  เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
   สาเหตุของปัญหา
-  การส่งออก  ปัญหาคือ  คุณภาพสินค้าไม่มีคุณภาพมาตรฐาน
-  การลักลอบนำเข้า  ปัญหาคือ  การลักลอบนำสินค้าเข้าโดยไม่เสียภาษี  ทำให้ทำลายเศรษฐกิจของชาติอย่างมาก
-  ค่านิยมการใช้สินค้าไทย  ปัญหาคือ  คนไทยนิยมสินค้าต่างประเทศทำให้เม็ดเงินตกไปอยู่กับต่างชาติทำให้การหมุนเวียนเศรษฐกิจไม่ดี
ผลกระทบต่อการศึกษา 
   -เศรษฐกิจไม่ดี  ผู้ปกครองตกงาน  ไม่มีรายได้
แนวทางในการแก้ไข
-  ปรับปรุงระบบงบประมาณ
-  อัตราครูต่อนักเรียน  เพื่อให้ได้คุณภาพ
-  พัฒนาระบบอาชีวศึกษาให้มีฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพ
-  ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารการศึกษา
2.  ปัญหาด้านการเมือง
ถาบันการเมืองมีอิทธพลในการกำหนดนโยบาย  และควบคุมการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ในรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติต่าง ๆ  และแผนการศึกษาชาติ
สาเหตุของปัญหา 
 -  การปรับเปลี่ยนรัฐบาลทำให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบาย
-  การใช้อำนาจโดยมิชอบ  ไม่มีความยุติธรรมในระบบราชการ  การคอรัปชั่น
ผลกระทบต่อการศึกษา
-  การปฏิบัติงานบนนโยบายที่ไม่แน่นอน
-  การสร้างประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น  ยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
-  ความล่าช้าในการตัดสินใจ
-  งบประมาณน้อย
-  ความเสมอภาค
แนวทางในการแก้ไข
-  ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกรูปแบบ
-  สถาบันการศึกษาต้องสอนให้เยาวชนเป็นพลเมืองดีของชาติ
3.  ปัญหาด้านครอบครัว
สถาบันครอบครัว  หมายถึง  คนสองคนมาอยู่รวมกัน  โดยมีความสัมพันธ์กันด้วยการแต่งงาน  ลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว  ครอบครัวขยาย
ครอบครัวเดี่ยว  หมายถึง  ครอบครัวที่มีคนสองคนแต่งงานกันประกอบด้วยพ่อ  แม่  ลูก  อยู่ด้วยกัน  แล้วแยกครอบครัวออกไปอยู่ตามลำพัง
ครอบครัวขยาย  หมายถึง  ซึ่งมีคนสามรุ่นอาศัยรวมกัน  ได้แก่  ปู่ย่า  ตายาย  พ่อแม่  และลูก
สาเหตุของปัญหา   
บุคลิกภาพเบี่ยงเบน  การใช้ความรุนแรงในครอบครัว  รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย  ฯลฯ
ผลกระทบต่อการศึกษา 
 พฤติกรรมของผู้เรียน  ค่าใช้จ่ายในการเรียน  การขาดสมาธิในการเรียน  ปัญหาวัยรุ่น ฯลฯ
แนวทางในการแก้ไข 
สถาบันการศึกษาควรเตรียมทักษะเบื้องต้น  ชีวิตครอบครัว  ความรับผิดชอบต่อครอบครัว
4.  ปัญหาสถาบันศาสนา
สถาบันศาสนา  มีหน้าที่พิเศษในการศึกษาอบรมปลูกฝัง  คุณธรรมจริยธรรม  จิตสำนึกให้แก่คนในชาติให้รู้ผิดชอบชั่วดี
สาเหตุของปัญหา
   ความประพฤติของพระสงฆ์  ทำให้ขาดความเชื่อศรัทธาในศาสนา / การศึกษาของสงฆ์ขาดการดูแล
ผลกระทบต่อการศึกษา
  ผู้บริหาร  ครู  นักเรียน  ไม่เชื่อคำสั่งสอนไม่มีธรรมะ  ประพฤติผิด
แนวทางในการแก้ไข 
 นิมนต์พระสงฆ์ที่มีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
5.  ปัญหาด้านสื่อมวลชน
สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร  และให้ความรู้แก่ประชาชน  ได้แก่  หนังสือพิมพ์  โทรศัพท์  วิทยุ  และอินเตอร์เนต
สาเหตุของปัญหา   
สื่อไม่เป็นกลาง  ขาดจรรยาบรรณในวิชาชีพมุ่งแต่ผลประโยชน์
ผลกระทบต่อการศึกษา  การใช้เวลาของเด็ก  ทัศนคติเชิงลบและเลียนแบบ  เด็กชอบบรรยากาศสื่อมากกว่าในห้องเรียน
แนวทางในการแก้ไข 
ใช้สื่อมาประยุกต์  ให้เป็นบทเรียนผู้สอนควรเลือกสื่อให้เป็นประโยชน์

ที่มา
www.stjohn.ac.th

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น