จากข้อมูลประวัติศาสตร์มาเลเซียได้รับอิทธิพลจากอินเดียและจีนศูนย์กลางแห่งอารยธรรมเก่าแก่ทั้งสองตั้งอยู่ทางตะวันตกและตะวันออก
อิทธิพลนี้รุนแรงมากในบางยุคโดยเฉพาะอิทธิพลจากอินเดีย มาเลเซียได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากในส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมสมัยต้นและศาสนาของตนอิทธิพลจีนจะน้อยกว่า
ดังที่เราจะเห็นว่าอิทธิพลของจักรวรรดิจีนส่วนใหญ่มักจะไม่มีในทางตรงนอกจากนี้ที่ตั้งภูมิศาสตร์ก็เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อมาเลเซียในประวัติศาสตร์สมัยต้นไม่ใช่เหตุบังเอิญ
ที่มาเลเซียตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีนเท่านั้นปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์อื่นๆยังช่วยเพิ่มพูนความสำคัญของที่ตั้งของมาเลเซียอีกด้วยต่างจากประเทศอื่นๆ
อีกหลายประเทศที่อยู่ครึ่งทางระหว่างอินเดียและจีนแต่น้อยประเทศ ที่มีข้อได้เปรียบเป็นพิเศษแบบมาเลเซีย มาเลเซียตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของคาบสมุทรที่ยื่นออกไปทางใต้จากผืนทวีปเอเชียและล้อมรอบด้วยทะเลเกือบหมด
ถ้าต้องการแล่นเรือออกจากเมืองจีนไปยังอินเดียก็จะต้องแล่นเลียบฝั่งมาเลเซียทั้งทางตะวันออกและตะวันตก
แต่ถ้าหากว่าไม่ต้องการแล่นเรือไปตลอดทางคาบสมุทรมลายูซึ่งแคบในตอนเหนือก็เป็นสถานที่ที่อำนวยความสะดวกที่สุดสำหรับการถ่ายเทสินค้าจากทะเลจีนไปยังมหาสมุทรอินเดีย
คาบสมุทรมลายูและชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เนียวก็มีบทบาทสำคัญในแผนการเดินทางทั้งนี้เพราะลมมรสุมเป็นปัจจัยสำคัญทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิอากาศเนื่องจากมาเลเซียเป็นสถานที่ที่ลมมรสุมพัดมาบรรจบกันแต่ในสมัยที่มีการเดินเรือ
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งลมมรสุมเป็นลมที่พัดจากสองทิศทางตามเวลาต่างกันในรอบปีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดข้ามมหาสมุทรอินเดียจากเส้นศูนย์สูตรระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากฝั่งทะเลจีนและข้ามทะเลจีนระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน
เมษายน กล่าวได้ว่าลมมรสุมทั้งสองนี้จะมาบรรจบกันที่คาบสมุทรมลายูหรือโดยทั่วๆไปในบริเวณหมู่เกาะมาเลเซียเรือที่แล่นมาจากเมืองจีนก็จะแล่นลงมาทางใต้ตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือส่วนเรือที่มาจากอินเดียก็จะมาทางตะวันออกตามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
เมื่อลมมรสุมเปลี่ยนเรือก็สามารถเดินทางกลับได้ฉะนั้นคาบสมุทรมลายูและฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เนียวจึงอยู่ในที่ตั้งที่ได้เปรียบในการอำนวยที่จอดพักสำหรับผู้ที่จะเดินทางโดยตลอดจากอินเดียไปยังจีน
หรือสำหรับผู้ที่จะรอคอยลมมรสุมเปลี่ยนหรือสำหรับผู้ที่จะเดินทางเพียงครึ่งทางเท่านั้นแต่จะได้พบปะกับพวกพ่อค้าด้วยกัน
“ที่พักครึ่งทาง” แห่งนี้ อาทิ
พ่อค้าชาวจีนสามารถลงมาทางใต้ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือน เมษายน
ทำธุรกิจของตนให้เสร็จเรียบร้อยแล้วเดินทางกลับได้ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือน
สิงหาคม ด้วยเหตุนี้มาเลเซียจึงก้าวเข้ามามีความสำคัญในประวัติศาสตร์โลก
เพราะมี
ข้อได้เปรียบจากสภาพทางภูมิศาสตร์เอื้ออำนวย อันที่จริงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึงถ้าเราต้องการจะเข้าใจอดีตและแม้แต่ปัจจุบันหรืออนาคตของมาเลเซีย
ภูมิศาสตร์ได้ชักนำมาเลเซียให้เข้ามาสู่เวทีประวัติศาสตร์โลกและภูมิศาสตร์ที่ไม่มีประเทศอื่นขนาบแต่
เปิดโล่งให้แก่โลกภายนอก
ดังนั้น มาเลเซียจึงได้สัมผัสกับอารยธรรมต่างๆและคนชาติต่างๆมากใน ประวัติศาสตร์สมัยแรกๆ
ของมาเลเซีย คนชาติต่างๆ เหล่านี้นำเอาวัฒนธรรมและอารยธรรมการค้าและ การพาณิชย์ ศาสนาต่างๆ และระบบการเมืองต่างๆ
มาให้มาเลเซีย ต่อมาก็มีผู้คนจากอินเดียและจีนเขามา ตั้งถิ่นฐาน ในชั้นแรกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อย
แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อแหล่งแร่และแหล่งกสิกรรมของมาเลเซียถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นกิจจะลักษณะแล้วจึงมีผู้เข้ามาตั้งหลักแหล่งกันเป็น
จำนวนมากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียยังทำให้มาเลเซียได้รับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
นับแต่ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อีกด้วย
สิ่งเหล่านี้ทำให้มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่มีมาตรฐาน การครองชีพสูงที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียทุกวันนี้การที่ที่ตั้งของมาเลเซียอยู่ใกล้เส้นทางการค้าระหว่าง
ตะวันออกกับตะวันตก
ย่อมหมายถึงว่ามาเลเซียได้เรียนรู้สิ่งประดิษฐ์ของยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น
จากสภาพภูมิศาสตร์จึงทำให้มาเลเซียมีพลเมืองหลายชาติหลายภาษา และกลายเป็น ประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย
หากย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ทางการเมืองและประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย
เราก็จะได้เห็นว่า เส้นทางการค้าและการเดินทางสำรวจมีอิทธิพลต่อฐานะของมาเลเซียในโลกอย่างไร
เราจะเห็นว่ามลายูและบรูไนรุ่งเรืองนับแต่ในสมัยที่มีสุลต่านปกครองมะละกาเมื่อการค้าระหว่างตะวันออกกับตะวันตกผ่านเข้ามาทางช่องแคบมะละกาและมะละกาเองก็เป็นเมืองท่าสำหรับหมู่เกาะทั้งหมดด้วยต่อมาเมื่อการค้าของเขตนี้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวฮอลันดา
เส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่างตะวันออกและตะวันตกได้ผ่านไปทางช่องแคบซุนดาทำให้ปัตตาเวีย
(จาการ์ตา) เจริญรุ่งเรืองขึ้น ส่วนมะ ละกาและบรูไนก็เสื่อมลง
การเปลี่ยนแปลงยังเกิดขึ้นต่อไปอีกเมื่อมลายูเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมืองระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่งเมื่ออังกฤษรื้อฟื้นความสนใจของตนในมาเลเซียในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่
18 การก่อตั้งถิ่นฐานในปีนังและสิงคโปร์ได้ทำให้การค้ากลับคืนสู่ช่องแคบมะละกามากขึ้นและในที่สุดก็ทำให้เกิดการพัฒนาสินแร่อันอุดมสมบูรณ์ของมาเลเซียสมัยใหม่
และในระยะเดียวกันนี้ชาวอังกฤษได้เริ่มให้ความสนใจซาราวักและซาบาห์อันนำไปสู่การมีอิทธิพลของอังกฤษขึ้นที่นั่น
เพราะฉะนั้น ฐานะของมาเลเซียในประวัติศาสตร์จึงขึ้นๆลงๆ
ตามความสนใจของชาติมหาอำนาจและการล่าอาณานิคมเมืองขึ้นจากโลกตะวันตก นอกจากนี้การแผ่ขยายของศาสนาอิสลามทำให้เกิดการก่อตั้งระบบสุลต่าน
หรืออิทธิพล จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษซึ่งทำให้เกิดการก่อตั้งสเตรตส์
เซ็ตเติลเมนท์ (Straits settlements) อันเป็นการกำหนดท่าทีอย่างชัดเจนของอังกฤษต่อภูมิภาคส่วนนี้ยังผลให้เกิดอิทธิพลการคุ้มครองของ
อังกฤษเหนือรัฐมลายูจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จีนจึงเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อมาเลเซียแต่ยังนับว่า
น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับอิทธิพลของอินเดียและถึงแม้ว่ามาเลเซียจะตั้งอยู่ครึ่งทางระหว่างจีนกับอินเดีย
แต่ในระหว่างศตวรรษก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นอินเดียก็ยังมีอิทธิพลอยู่ในคาบสมุทรและหมู่เกาะของมาเลเซียมากกว่าจีนอยู่นั่นเอง
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น